เปรียบเทียบเทคโนโลยีฆ่าเชื้อ ระหว่าง UV กับ RGF ควรเลือกใช้แบบไหนสำหรับหน่วยงานของเรา?

วินาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก ไวรัสโควิด-19 (COVID-19)  หรือ “ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019” ทำให้มนุษย์ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดต่อสถานการณ์ที่ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ นอกเหนือจากการหมั่นล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย และปฏิบัติ Social Distancing ในหน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น โรงพยาบาล ห้องแลป และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น มีมาตรการนำเครื่องฆ่าเชื้อโรคมาใช้เพื่อรับมือกับไวรัสโควิด-19

ณ ปัจจุบัน เทคโนโลยีทั่วไปในการฟอกอากาศและฆ่าเชื้อโรค มีให้เลือกใช้มากมาย ซึ่งก็มีข้อดีและข้อจำกัดต่างกันไป สำหรับเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงาน

เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซี (UVC) ยูวีซี UVC เป็นแสงที่มีความยาวคลื่นสั้นและมีพลังงานมากที่สุด มีอานุภาพในการทำลายล้างสารพันธุกรรม แสง UVC สังเคราะห์ได้ถูกคิดค้นพัฒนาเอามาใช้สำหรับการฆ่าเชื้อ โดยทั่วไปหลอดกำเนิดแสง UV ที่ใช้ฆ่าเชื้อโรคจะเป็นหลอดชนิดที่ให้แสง UVC ความยาวช่วงคลื่น 254 nm ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และ vegetative cell ของเชื้อราแต่ไม่สามารถทำลาย spore ของเชื้อรา ในการใช้แสง UVC เพื่อฆ่าเชื้อจะต้องคำนึงถึงระยะเวลา ความเข้มหรือพลังงานของแสงต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ซึ่งพลังงานในการฆ่าเชื้อแต่ละชนิดจะแตกต่างกันไปตามชนิดของเชื้อ นอกจากนี้แสง UV ยังฆ่าเชื้อได้ดีเฉพาะเชื้อที่ล่องลอยในอากาศ เชื้อที่ตกบนพื้นหรือห่างจากหลอดกำเนิดแสงจะไม่ถูกทำลาย และพื้นที่ควรเป็นห้องที่จัดระเบียบเรียบร้อยไม่มีสิ่งของกีดขวางหรือรกรุงรังเพราะขัดขวางพลังงานของแสงที่แผ่ออกมา ดังนั้นการติดตั้งหลอดกำเนิดแสง UV เพื่อการฆ่าเชื้อในห้องหรือหน่วยงานควรปรึกษาช่างเทคนิคหรือบริษัทที่จำหน่ายเครื่องมือแพทย์ เพื่อเลือกชนิด, จำนวนของหลอด, และตำแหน่งติดตั้งหลอดเพื่อให้เหมาะสมกับพื้นที่ของห้อง

ข้อดี

  • สามารถฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรีย ไว้รัสที่ล่องลอยในอากาศ
  • สามารถฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรีย ไว้รัสที่พื้นผิวของวัสดุ

ข้อจำกัด

  • เป็นอันตรายต่อผิวหนังทำให้ระคายเคือง ผิวหนังไหม้ หรือเป็นมะเร็งได้
  • หากสัมผัสกับตาอาจทำให้เกิดอาการกระจกตาอักเสบ การมองเห็นภาพผิดปกติ หรือทำให้ตาบอดได้
  • ทำลายพันธะเคมีของพลาสติก ทำให้อายุการใช้งานของพลาสติกลดลง รวมทั้งมีผลต่อฉนวนกันความร้อน หรือปะเก็นต่างๆ ที่ทำจากยาง
  • ไม่สามารถขจัดเชื้อรา
  • ในการกำจัดเชื้อไวรัสต่างๆ จะต้องคำนึงถึงพื้นที่, ปริมาณความเข้มของแสง, ระยะห่าง, ระยะเวลา ( เช่น หลอด UV 36W  ที่ระยะห่าง 1.5 นิ้ว ใช้เวลา 0.18 วินาที สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ 100% แต่ถ้ามีระยะห่าง 3 นิ้วสามารถฆ่าเชื้อโรคได้เพียง 25% ดังนั้นในระบบปรับอากาศที่ใช้ UV นั้นไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ 100%และไม่ทั่วถึง เชื้อที่ตกบนพื้นผิวหรือห่างจากหลอดกำเนิดแสงจะไม่ถูกทำลาย )
  • ไม่สามารถเปิดใช้งานได้ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นอันตรายต่อมนุษย์

เทคโนโลยีการฆ่าเชื้อ RGF จากประเทศสหรัฐอเมริกา

RGF’s Advanced Oxidization Technology คือ เทคโนโลยีฆ่าเชื้อโรค กำจัดกลิ่น ลดปริมาณฝุ่นละออง ไร้สารเคมี ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ได้รับรองสิทธิบัตรภายใต้ชื่อ PHI : Photohydroionization และ REME : Reflective Electro- Magnetic Energy เป็นผลิตภัณฑ์จากสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการรองรับมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 และ TUV

เทคโนโลยี Advanced Oxidization ไม่ได้ใช้แสงUV โดยตรง แต่เป็นการใช้แสงUV เพื่อกระตุ้นวัสดุที่ถูกเคลือบด้วยสารพิเศษ 4ชั้น (Rhodium, Titanium Dioxide, Silver, Copper) ในการสร้าง Super Oxide Ions, Hydroxyl Radicals และ Hydroperoxyl หรือ Hydrogen peroxide ions จากความชื้นในอากาศและอ็อกซิเจน เรียกว่า AOPs ion เมื่อแสงมาตกกระทบก็จะเกิดเป็นอิออนแล้วมีลักษณะการจับตัวหลายรูปแบบ หลักการคล้ายกับชาปพลัสมาคลัสเตอร์ แต่ผลิตอิออนได้หลากหลายกว่า เมื่อปล่อย AOPs ions ออกมาสู่ภายนอกเครื่อง จะทำลายผนังของเชื้อโรคในอากาศและบนพื้นผิววัสดุอุปกรณ์ต่างๆภายในสถานที่ติดตั้ง อีกทั้งยังสามารถกำจัดกลิ่นต่างๆ และเชื้อราได้ด้วย

ข้อดี

  • สามารถฆ่าเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ทั้งในอากาศ และบนพื้นผิวของวัสดุๆต่างๆได้ อาทิเช่นพื้น ผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือสิ่งของภายในห้อง
  • สามารถกำจัดกลิ่นในอากาศ ได้แก่กลิ่นไอระเหยของสารเคมี กลิ่นควัน กลิ่นไม่พึ่งประสงค์ต่างๆได้
  • แตกต่างจากUV และ โอโซน สามารถเปิดทำงานแบบ 24 ชั่วโมง เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อโรค กำจัดกลิ่น แบบ Real-time โดยไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ***ระยะเวลาใช้งานหลอด PHI UNIT  18,000 ชั่วโมง*** 1. เปิดใช้งาน 24 ชั่วโมง/วัน ใช้งานได้ 2 ปี 2. เปิดใช้งาน 12 ชั่วโมง/วัน ใช้งานได้ 4 ปี 3. เปิดใช้งาน 8 ชั่วโมง/วัน ใช้งานได้ 6 ปี
  • มีไส้กรองชนิด Electrostatic filter สำหรับดักจับฝุ่นละออง แบบถอดออกได้
  • ผลิตภัณฑ์มีหลายรุ่น สามารถเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม 1. ห้อง ขนาด 74 ตรม. ขอแนะนำ รุ่น Plug in Plus Air Purification System (PIP-GA)  2. ห้องขนาด 130-140 ตรม. ขอแนะนำ รุ่น CAPS Mini-commercial air purification system 3. เครื่องฆ่าเชื้อไวรัสในอากาศแบบพกพา เคลื่อนที่ได้ เหมาะสำหรับฆ่าเชื้อโรค กำจัดกลิ่น กรองฝุ่น ในห้องพัก ห้องทำงานต่างๆแบบรวดเร็ว พี่แม่บ้านสามารถใช้ขณะทำความสะอาดได้เลย ขอแนะนำรุ่น Rapid Recovery Unit Air Purification and Control System 4. สำหรับติดตั้งกับระบบท่อลม central air ในหน่วยงาน (AHU) ขอแนะนำรุ่น  Guardian Air Qr+ และรุ่นอื่นๆ สามารถขอรายละเอียดและราคาโมเดลที่ต้องการจากแอดมินได้เลยค่ะ
  • มีผลทดสอบการฆ่าเชื้อต่างๆ จากห้องแลป ประเทศสหรัฐอเมริกา

ข้อจำกัด

  • ในการฆ่าเชื้อโรค ระยะเวลาที่ใช้ต้องมีความเหมาะสมตามแต่ละชนิดของเชื้อที่ต้องการทำลาย ซึ่งอ้างอิงได้จากผลการทดลองจากแลป RGF

จากข้อมูลดังกล่าว เป็นเพียงส่วนนึงจากเทคโนโลยีที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรค เพื่อให้ทุกท่านเลือกใช้งานได้ตามความเหมาะสม เราจะร่วมฝ่าวิกฤต โควิด-19 ไปด้วยกันนะคะ

ข้อมูลอ้างอิง

http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_7_001c.asp?info_id=697 https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/488/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%B5(UVC)/