เก็บรักษายาให้มีประสิทธิภาพ

“ยานั้นมีคุณอนันต์ แต่ก็อาจมีโทษมหันต์ ถ้าใช้ยาไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะยาที่เสื่อมสภาพ หรือยาหมดอายุ”

ยาที่เก็บรักษาในสภาวะที่ไม่เหมาะสมอาจทําให้เกิดการเสื่อมสลายของตัวยา ส่งผลให้ประสิทธิภาพการรักษาลดลง และการเสื่อมสลายของยาบางชนิด ก็ก่อให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน เช่น ยาเตตร้าไซคลิน สารที่เกิดจากการสลายตัวจะมีพิษต่อตับ ถึงแม้ว่าความไม่คงตัวของเภสัชภัณฑ์ยาส่วนใหญ่จะสังเกตทางกายภาพได้ แต่บางชนิดก็ไม่สามารถสังเกตเห็นด้วยสายตาได้ ดังนั้นการเก็บรักษายาในสภาวะเหมาะสมจึงถือว่าเป็นสิ่งสําคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากเก็บรักษาไม่ดีแล้ว ยาอาจเสื่อมก่อนถึงวันหมดอายุได้ และเมื่อนำมาใช้ก็อาจส่งผลเสียมากกว่า วันนี้จึงขอแนะนำวิธีการเก็บยาให้มีคุณภาพอยู่ได้นาน และมีความปลอดภัยมาฝากค่ะ

ปัจจัยสําคัญที่มีผลต่อการสลายตัวของยา ได้แก่

1.แสง โดยแสงจะเร่งให้ยาเกิดสลายตัวของยา สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการเก็บยาในกล่องทึบแสง หรือภาชนะสีชา

2.ความชื้น ตัวยาหลายชนิดเมื่อโดนความชื้นจะเกิดการแปรสภาพหรือเสื่อมสภาพ อาจทำให้มีลักษณะเปลี่ยนไป เช่น เม็ดยาบวม หรือเม็ดยาเกาะกันเป็นก้อน เป็นต้น

3.อุณหภูมิ ยาบางอย่างสลายตัวได้เร็วมากในอุณหภูมิห้องซึ่งต้องเก็บยาในตู้เย็น ดังนั้นการเก็บรักษาเภสัชภัณฑ์ยานั้น ควรเก็บไว้ในอุณหภูมิที่ระบุตามฉลากหรือเอกสารกำกับยา อุณหภูมิที่สูงหรือต่ำเกินไปสามารถส่งผลต่อคุณภาพของยา  โดยทั่วไปแนะนำให้เก็บที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 18-25 องศาเซลเซียส เเต่บางชนิดอาจต้องเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส โดยทั่วไปภายหลังจากการเปิดใช้ภาชนะบรรจุยาแล้วควรปิดภาชนะให้สนิทและนําไปเก็บในบริเวณที่ห่างจากแสงแดดหรือแสงส่องไม่ถึงและมีสภาวะอุณหภูมิที่เหมาะสม

ข้อควรปฏิบัติในการเก็บรักษายา

1. อ่านสลากยาให้ครบถ้วน รวมทั้งคำแนะนำการเก็บรักษายา

2. กรณียาทั่วไป ที่ไม่ระบุการเก็บรักษาเป็นพิเศษ ให้เก็บยาที่อุณหภูมิห้องบริเวณที่ไม่ร้อน และไม่มีแสงแดดส่อง ห้ามทิ้งยาไว้ในรถยนต์ เพราะเมื่อจอดกลางแดด แม้เพียงไม่นานอุณหภูมิในรถจะร้อนมาก ทำให้ยาเสื่อมได้ง่าย และควรเก็บในที่ที่เด็กหยิบยาเองไม่ได้

3. กรณียาที่ระบุว่าให้เก็บยาไว้ในตู้เย็น ห้ามแช่แข็ง หมายถึงให้เก็บในตู้เย็นช่องปกติ ไม่ควรเก็บที่ชั้นใกล้ช่องแช่แข็ง เพราะมีความเย็นจัดจนทำให้เป็นน้ำแข็งได้ หรือเก็บที่ประตูตู้เย็น เพราะอุณหภูมิอาจไม่เย็นพอ จากการที่มีการเปิด ปิด ประตูตู้เย็น บ่อยๆ

4. ยาที่บรรจุในขวดสีชา หมายถึงยาที่ต้องป้องกันไม่ให้ถูกแสง ไม่ควรเปลี่ยนภาชนะบรรจุยาไปเป็นแบบใสหรือขาว เพราะจะทำให้ยาเสื่อมได้จากแสง

5. ยาที่ต้องระมัดระวังเรื่องความชื้นควรใส่สารกันชื้น (มักเห็นเป็นซองเล็กๆ ภายในมีเม็ดกันชื้นสอดอยู่ในขวดยา) ไว้ตลอดเวลา และปิดภาชนะบรรจุให้แน่น

6. ควรเก็บยาไว้ในภาชนะบรรจุเดิมซึ่งมีสลากระบุชื่อยาและวันที่ได้รับยานั้น จะทำให้สามารถพิจารณาระยะเวลาที่ควรเก็บยาที่เหลือนั้นได้

ช่วงอุณหภูมิใดบ้างที่เก็บยาได้

ถ้าหยิบยามาดูที่ภาชนะบรรจุ หรือเอกสารกำกับยามักจะระบุสภาวะที่เหมาะในการเก็บยาตัวนั้นๆ ดังนี้

• ให้เก็บยาที่อุณหภูมิแช่แข็ง freeze จะเก็บในช่วง -25°C ถึง -10°C

• ให้เก็บยาที่อุณหภูมิเย็นจัด หรือเก็บในตู้เย็น cold store หรือ in refrigerator ช่วงอุณหภูมิ 2 – 8°C

• ให้เก็บยาในที่อุณหภูมิเย็น (cool place) ช่วง 8-15°C

• ให้เก็บยาในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิ controlled room temperature ช่วง 20-25°C หรือไม่เกิน 30°C

แต่เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าในแต่ละวัน อุณหภูมิและความชื้นเป็นไปตามมาตรฐานที่มันควรจะเป็น  หากเกิดไฟดับ ปลั๊กตู้เย็นหลุด หรือบางเวลาอาจมีน้ำแข็งเกาะหนาและบางวันมีอุณหภูมิสูงมาก อาจเป็นผลจากการล้างตู้เย็นแล้วไม่มีการตรวจสอบอุณหภูมิซ้ำ จะส่งผลให้ยาเสื่อมคุณภาพ ซึ่งไม่ควรมองข้าม

               บริษัท แอเรียล คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด เรานำประสบการณ์ในเรื่อง Data Communications มาประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีในการติดตาม อุณหภูมิ และความชื้น นำระบบเข้ามาช่วยทำให้ไม่ว่าเราอยู่ที่ไหนก็สามารถมอนิเตอร์ได้ตลอดเวลา มีระบบแจ้งเตือนเมื่อค่าผิดปรกติ นอกจากนี้ยังสามารถดึงรายงาน เป็นข้อมูลดิบ และเป็นกราฟย้อนหลัง ได้ 3 ปี (surveyor  ยอมรับระบบ Paperless เพื่อลดการสิ้นเปลืองทรัพยากรจากการใช้เอกสาร ) ดังนั้นการที่มีระบบแจ้งเตือนและบันทึกข้อมูลอุณหภูมิความชื้นออนไลน์ จะทำให้มั่นใจได้ว่ายานั้นอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้ และด้วยเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ทำให้สามารถติดตามคุณภาพของยาให้เป็นไปตามมาตรฐานและมีประสิทธิภาพในการรักษาสูงสุด

เทคโนโลยีในการติดตาม อุณหภูมิ และความชื้น นำระบบเข้ามาช่วยทำให้ไม่ว่าเราอยู่ที่ไหนก็สามารถมอนิเตอร์ได้ตลอดเวลา

ที่มาข้อมูล

https://www.scimath.org/article-science/item/2129-drug603

http://202.28.95.4/pharmacy/index.php?f=detail_rule&id=6 http://oknation.nationtv.tv/blog/DIVING/2008/10/07/entry-3