เชื้อราในระบบปรับอากาศ ภัยเงียบที่มองไม่เห็น

เชื้อรา (Fungi) เป็นพืชที่สามารถอยู่ได้ทั้งในน้ำ บนดิน หรือ ในอากาศ มีหลายชนิดทั้งที่เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ เห็ดก็เป็นเชื้อราประเภทหนึ่ง แต่ที่เกิดปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อราที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทั้งต่อบุคคล เช่น หากผู้ป่วยสูดอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อราเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจ หอบ หืด คัดจมูก โรคผิวหนังบางชนิด เช่น หูด หรือ โรคภายในร่างกาย เช่น ตับ เป็นมะเร็งจากสารอัลฟาท็อกซินจากเชื้อราในอาหาร และยังก่อให้เกิดปัญหาในการผลิตจากการเกิดเชื้อราในอาหาร ตลอดจนถึงทำ ให้อาคารเกิดเปลี่ยนสี โดยเฉพาะตามผนังอาคาร หรือ เกิดกลิ่นเหม็นอับในอาคารและก่อให้เกิดโรคต่างๆ ติดตามกันมา การออกแบบระบบปรับอากาศที่ดีก็มีส่วนช่วยลดการก่อตัวของเชื้อราในอาคาร

สภาพแวดล้อมที่ทำให้เชื้อราขยายพันธุ์

  1. อุณหภูมิ – เชื้อราส่วนใหญ่จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ที่อุณหภูมิ0 – 30 °C แต่อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญเติบและแพร่พันธุ์จะอยู่ที่ 20 – 30 °C แต่มีราบางชนิดที่สามารถเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ที่อุณหภูมิ 40 – 50°C การขยายตัวของเชื้อราจะลดลงที่อุณหภูมิสูงขึ้น ที่อุณหภูมิ50°Cเชื้อราจะเจริญน้อยลง และราทุกชนิดจะถูกฆ่าตายที่อุณหภูมิ 60°C หรือจะหยุดการเจริญและแพร่พันธุ์
  2. แสงสว่าง – ไม่จำ เป็นต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา เว้นแต่บางชนิดที่แสงสว่างจำ เป็นต่อการสร้างสปอร์ โดยเชื้อราจะหันไปทางแสงสว่าง
  3. ความชื้น – เชื้อราส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ที่ระดับความชื้นสัมพัทธ์สูงกว่า 60%
  4. วัสดุ – เชื้อราส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตได้ในวัสดุเกือบทุกประเภท ทั้งวัสดุที่เป็นอินทรียวัตถุ (ทำจากสิ่งมีชีวิต) เช่น ไม้เศษใบไม้ผ้า อาหาร ผ้าม่านหนังสือ เป็นต้น โดยเฉพาะวัตถุที่มีช่องว่าง หรือ รูพรุน หรือ จากวัสดุอื่น เช่น ปูน พรม พลาสติก ไวนิล เป็นต้น และวัสดุนั้นเปียกชื้นเป็นเวลานานกว่า 48ชั่วโมง

การเกิดขึ้นของเชื้อราในระบบปรับอากาศ

                เชื้อราสามารถเกิดขึ้นได้ตามอุปกรณ์ต่างๆของระบบปรับอากาศที่เกิดความชื้นขึ้น และ ถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่จัดการแก้ไขเป็นเวลานานเกินกว่า 48 ชั่วโมง เช่น

  1. ตามแนวท่อน้ำ เย็นที่ฉนวนเกิดแตกหรือฉีกขาด ทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำที่ผิวท่อ
  1. ตามขดท่อน้ำ เย็น (Cooling Coil) โดยเฉพาะบริเวณส่วนล่างใกล้ถาดน้ำทิ้งขดท่อน้ำ เย็น
  2. การควบแน่นของหยดน้ำที่ผนังห้อง ซึ่งเกิดจากอุณหภูมิต่างระหว่างห้องสูงและเป็นผนังคอนกรีต เช่นห้องเก็บรักษายา ซึ่งมีอุณหภูมิห้องไม่เกิน 22-25องศาเซลเซียส กับห้องข้างเคียงที่ เป็นห้องอุณหภูมิปกติ ความเย็นที่ผนังจะต่ำ และเมื่อต่ำ กว่าจุดควบแน่น(Dew Point) ก็จะมีหยดน้ำ มาเกาะที่ผนังอยู่ตลอดทำ ให้เกิดเชื้อรา แก้ไขโดยการใช้ฉนวนปิดตลอดแนวผนังภายในห้องที่มีอุณหภูมิต่ำ และเพื่อเป็นการลดการสูญเสียความเย็นหรือพลังงานในระยะยาว
  3. ภายในผนังภายในของท่อลมส่วนต่อจากขดท่อน้ำ เย็นในระยะประมาณ 10 ฟุต
  1. ตามแนวกระจกหน้าต่าง ซึ่งเกิดการควบแน่นที่ผิวกระจกด้านนอกของไอน้ำ เมื่ออุณหภูมิภายในห้องต่ำกว่าภายนอกมาก
  2. ตามหน้ากากจ่ายลม โดยเฉพาะชนิดกระจายสี่ทิศ ซึ่งจะทำ ให้เกิดกระแสลมแปรปรวน
  3. ตามผนังด้านนอกของท่อลมจ่ายลมเย็นเนื่องจากอุณหภูมิภายในและภายนอกท่อลมต่างกัน

บริษัท แอเรียล คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ขอแนะนำ RGF’s Advanced Oxidization Technology เทคโนโลยีในการขจัดเชื้อรา และสามารถฆ่าเชื้อโรค กำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ โดยไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ได้รับรองสิทธิบัตรภายใต้ชื่อ PHI : Photohydroionization และ REME : Reflective Electro- Magnetic Energy เป็นผลิตภัณฑ์จากสหรัฐอเมริกาที่ได้รับการรองรับมาตรฐานคุณภาพ ISO 9001 และ TUV

สินค้าที่เกี่ยวข้องกับบทความนี้

CAPS Mini-commercial air purification system 

 

Rapid Recovery Unit Air Purification and Control System