การจัดการน้ำเสียของอาคารประเภท ก ด้วย Internet of Things

น้ำเสีย หมายถึง น้ำที่มีสิ่งเจือปนต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งกลายเป็นน้ำที่ไม่เป็นที่ต้องการ และน่ารังเกียจของคนทั่วไป ไม่เหมาะสมสำหรับใช้ประโยชน์อีกต่อไป หรือถ้าปล่อยลงสู่ลำน้ำธรรมชาติก็จะทำให้คุณภาพน้ำของธรรมชาติเสียหายได้

น้ำเสียชุมชน (Domestic Wastewater) หมายถึง น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมประจำวันของประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชน และกิจกรรมที่เป็นอาชีพ ได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากการประกอบอาหารและชำระล้างสิ่งสกปรกทั้งหลายภายในครัวเรือน และอาคารประเภทต่าง ๆ เป็นต้น

 

อาคารประเภท ก ถูกจัดเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือ ออกสู่สิ่งแวดล้อม อาคารประเภท ก. หมายความถึง อาคารดังต่อไปนี้

มาตรฐานควบคุมระบายน้ำทิ้งจากอาคารประเภท ก

 

โรงพยาบาลที่มีขนาดมากกว่า 30 เตียง จัดเป็นอาคารประเภท ก ระบบบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาล ที่นิยมใช้กัน คือระบบบำบัดน้ำเสียแบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์ (Activated Sludge Process) เป็นวิธีบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการทางชีววิทยา โดยใช้แบคทีเรียพวกที่ใช้ออกซิเจน (Aerobic Bacteria) เป็นตัวหลักในการย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย

ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถบำบัดได้ทั้งน้ำเสียชุมชนและน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม แต่การเดินระบบประเภทนี้จะมีความยุ่งยากซับซ้อน เนื่องจากจำเป็นจะต้องมีการควบคุมสภาวะแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ให้เหมาะสมแก่การทำงานและการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงสุด ในปัจจุบัน ระบบแอกทิเวเต็ดสลัดจ์มีการพัฒนาใช้งานหลายรูปแบบ เช่น ระบบแบบกวนสมบูรณ์ (Completely Mix) กระบวนการปรับเสถียรสัมผัส (Contact Stabilization Process) ระบบคลองวนเวียน (Oxidation Ditch) หรือ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ (Sequencing Batch Reactor) เป็นต้น

 

 

 

 

บริษัท แอเรียล คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ได้ประยุกต์ใช้  IoT ให้เข้ามาช่วยมอนิเตอร์เพื่อวิเคราะห์ผลแบบ Real Time มี Sensor ที่สามารถตรวจสอบอุณหภูมิน้ำ, ค่าการเหนี่ยวนำไฟฟ้า, ค่าความเป็นกรดด่าง (pH), ความขุ่น, ปริมาณออกซิเจนในน้ำ รวมถึงสภาพแวดล้อมโดยรอบเช่น ความดัน, ความชื้น เป็นต้น ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งขึ้นไปประมวลผลบน Cloud ทำให้สามารถติดตามคุณภาพน้ำและประเมินคุณภาพน้ำได้อย่างแม่นยำ