คนทั่วไปอาจยังไม่คุ้นหูกับคำว่าเชื้อไวรัส RSV เท่าไรนัก คนที่รู้จักไวรัสชนิดนี้ส่วนใหญ่มักจะเป็น คุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครอง นั่นก็เพราะ RSV คือเชื้อไวรัสสุดฮิตที่เกิดขึ้นในหมู่เด็กเล็กเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาวนี้ ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตอาการของลูกหลานอย่างใกล้ชิด เพราะหากพลาดไปสักนิดอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ แหล่งแพร่เชื้อส่วนใหญ่คือ เนอสเซอรี่ และโรงเรียนอนุบาล การระบาดเริ่มเกิดขึ้นหลังจากที่มีการเปิดเรียนเต็มรูปแบบ โดยพบมากในเด็กอนุบาล ตั้งแต่เดือนกันยายนมาจนถึงปัจจุบัน แนวโน้มของโรคยังไม่ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับทุกปี

ไวรัส RSV คืออะไร
ไวรัส RSV คือ เชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ชื่อภาษาอังกฤษคือ Respiratory Syncytial Virus เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจได้ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ทำให้ร่างกายผลิตเสมหะออกมาจำนวนมาก ซึ่งเชื้อไวรัสชนิดนี้มีมานานหลาย 10 ปีแล้ว แต่ปัจจุบันเริ่มมาเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ มักจะก่อให้เกิดอาการรุนแรงในเด็กเล็ก
วิธีสังเกตอาการว่าติดเชื้อไวรัส RSV หรือไม่
ภายหลังจากที่เด็กได้รับเชื้อ RSV ประมาณ 2-7 วัน เด็กอาจมีอาการแสดงได้ดังต่อไปนี้
• กลุ่มอาการในทางเดินหายใจส่วนบน จะมีอาการคล้ายโรคหวัด ได้แก่ ไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เจ็บคอ
• กลุ่มอาการในทางเดินหายใจส่วนล่าง อาการจะรุนแรงกว่า เด็กจะมีอาการไอรุนแรง ไอต่อเนื่อง หายใจเหนื่อยหอบ มีหน้าอกบุ๋ม ในบางครั้งอาจได้ยินเสียงหวีด หรือปากเขียวได้ ซึ่งหากรุนแรงมากอาจมีอาการหายใจล้มเหลว ต้องได้รับการช่วยหายใจอย่างเร่งด่วน
วิธีรักษา
เบื้องต้นไวรัส RSV ไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกัน ดังนั้นแพทย์จึงใช้วิธีการรักษาไปตามอาการ รักษาประคับประคอง ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาลดไข้ หรือในเด็กบางรายที่มีลักษณะของหลอดลมตีบ ก็อาจจะมีการให้ยาพ่นเพิ่มเพื่อขยายหลอดลม รวมถึงการเคาะปอดและดูดเสมหะ
วิธีป้องกัน
‣ ใส่หน้ากากอนามัย และใช้ผ้าเช็ดหน้า ปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอ หรือจาม
‣ ล้างมือด้วยน้ำสะอาดเเละสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล บ่อยๆ
‣ ไม่ควรใช้มือที่ไม่สะอาดมาป้ายตา จมูก
‣ หลีกเลี่ยงบริเวณแออัดที่ที่มีคนเยอะ
‣ หลีกเลี่ยงหอมแก้ม กอด จูบ
‣ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ
‣ ทำความสะอาดของเล่นเด็กเป็นประจำ โดเฉพาะหลังพบว่าเด็กที่ป่วยมา สัมผัสหรือเล่นของเล่นชิ้นนั้น
‣ ไม่ควรใช้แก้วน้ำร่วมกัน และหลีกเลี่ยงใช้เเก้วน้ำที่ผู้ป่วยใช้เเล้ว
‣ ทารกควรกินนมแม่
‣ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่
และติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อไวรัสในอาคาร โรงเรียน หรือสถานที่ที่ผู้คนแออัด
แอดมินขอแนะนำ เทคโนโลยีฆ่าเชื้อไวรัสด้วยการปล่อยไอออน ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับอนุภาคเล็กๆ ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น เชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส สารก่อภูมิแพ้ ให้ตายลงหรือเสื่อมสภาพลง เหมาะสำหรับอาคาร โรงเรียน และบ้านพักอาศัย เป็นต้น