ฝ่าวิกฤต โควิด – 19 ด้วยเทคโนโลยีฆ่าไวรัส

วินาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จัก ไวรัสโควิด-19 (COVID-19)  หรือ “ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019”  ที่กำลังระบาดหนักอยู่ทั่วโลกขณะนี้มีจำนวนผู้ป่วยสะสมทั่วโลก 85,209 ราย และเสียชีวิต 2,923 ราย โดยถึงเวลานี้ ในประเทศไทย ก็ได้พบผู้ติดเชื้อไปแล้วกว่า 41 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย  ( ข้อมูล ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ )

สิ่งสำคัญภายใต้การตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ สิ่งที่ทุกคนทำได้

  • อย่างแรก คือ  การดูแล และป้องกันตัวเอง รักษาสุขภาพให้เเข็งแรง ล้างมือสม่ำเสมอ อย่าเอามือไปสัมผัสหน้าหรือตาหากไม่จำเป็น
  • อย่างที่สอง พยายามตรวจสอบตัวเองวัดไข้สม่ำเสมอ
  • อย่างที่สาม ถ้ารู้สึกไม่สบายก็อย่าไปในที่แออัดหรือที่ชุมชน  และให้ไปหาหมอทันที
  • อย่างที่สี่ ลดกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่สาธารณะ ที่จะทำให้เชื้อไวรัสโคโรน่าระบาดได้ง่าย และไม่เดินทางไปในประเทศกลุ่มเสี่ยง

นี่คือสิ่งที่เราสามารถช่วยทำกันได้อย่างง่ายซึ่งจะสามารถลดการระบาดของไวรัสโควิด – 19 ได้ในเบื้องต้น แต่ถึงอย่างไร ในชีวิตประจำวัน เราเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่ไปทำงาน ไม่ไปโรงพยาบาล ไม่ไปห้างสรรพสินค้า หรือสนามบิน ไม่ว่าเราจะป้องกันตัวเองดีแค่ไหน แต่เมื่ออยู่ในสถานที่แออัด ผู้คนมากหน้าหลายตา จะมั่นใจได้อย่างไรว่าพื้นที่นั้นจะไม่มีความเสี่ยง ถ้าผู้คนไปติดโรคจากสถานที่นั้นๆ ใครจะรับผิดชอบ?

ณ ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีทั่วไปในการฟอกอากาศและฆ่าเชื้อโรค ที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่

Efficiency Particulate Air Filters  หรือ HEPA Filter

ข้อดี: สามารถกรองเชื้อโรค หรือฝุ่นละอองที่มีขนาดอนุภาคใหญ่กว่า 0.30 ไมครอน ได้ 99.97%  

ข้อจำกัด: อนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 0.3 ไมครอน สามารถหลุดผ่านไส้กรองได้ เช่นโควิด – 19 ซึ่งเป็นละอองฝอย (Droplet) ขนาดเล็กของน้ำลายหรือน้ำมูก ซึ่งปกติแล้วจะแพร่กระจายได้ไกลประมาณ 90 เซนติเมตร ถึง 1.5 เมตร และเมื่อใช้งานนานๆไปไส้กรองจะตันทำให้ประสิทธิภาพการกรองลดลง 

UV (Ultraviolet) ประเภท UVC  มีความยาวคลื่น (200-280 nm) มีพลังงานสูงสุด มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อมากที่สุด UVC จึงถูกนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการฆ่าเชื้อโรคในอากาศ พื้นผิวและน้ำ

ข้อดี: ฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรีย ไว้รัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงกำจัดกลิ่นอับต่างๆ ที่เกิดจากการสะสมของแบคทีเรีย

ข้อจำกัด: UV ไม่สามารถขจัดเชื้อรา และในการกำจัดเชื้อไวรัสต่างๆ จะต้องคำนึงถึงปริมาณความเข้มของแสง ระยะห่าง ระยะเวลา ( เช่น หลอด UV 36W  ที่ระยะห่าง 1.5 นิ้ว ใช้เวลา 0.18 วินาที สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ 100% แต่ถ้ามีระยะห่าง 3 นิ้วสามารถฆ่าเชื้อโรคได้เพียง 25% )และไม่สามารถเปิดใช้งานได้ตลอดเวลา เนื่องจากมีอันตรายต่อผิวหนังและตามากที่สุดจึงไม่ควรได้รับแสงโดยตรง ทำให้เราไม่สามารถอยู่ในห้องขณะใช้ UV 

OZONE

ข้อดี: โอโซนมีประโยชน์ในการทำลายเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ให้ตายได้

ข้อจำกัด: ไม่สามารถเปิดได้ตลอดเวลาเพราะการใช้โอโซนเพื่อกำจัดเชื้อโรคต้องใช้ความเข้มข้นสูงมาก และมักก่อปัญหาระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ

นอกจาก 3 เทคโนโลยีนี้ ยังมีเทคโนโลยีที่สามารถหยุดยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ ไวรัส  ฝุ่น กลิ่นอับ ในกาศและพื้นผิววัตถุ โดยไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และสัตว์ สามารถเปิดใช้งานได้ 24 ชั่วโมง มาให้ทุกคนได้รู้จัก

               เครื่องฆ่าเชื้อโรคในอากาศ สำหรับ AHU/HVAC โดยใช้เทคโนโลยี Advanced Oxidization โดยใช้แสงUV กระตุ้น เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี PHI และ REME ในระบบ HVAC/AHU สำหรับติดตั้งกับระบบท่อลม Central Air ในโรงพยาบาล สนามบิน โรงภาพยนตร์ ห้างสรรพสินค้า โรงงานอุตสาหกรรม สำนักงาน หรือที่พักอาศัย เทคโนโลยี PHI และ REME จะปล่อยอนุภาค AOPs ions มาตามกระแสลมของระบบกระจายอากาศทำให้สามารถฆ่าเชื้อโรคในอากาศได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้เชื้อโรคถูกดูดผ่านตัวเครื่อง และสามารถฆ่าเชื้อโรคบนพื้น ผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรือสิ่งของภายในห้องได้อีกด้วย หากสนใจผลิตภัณฑ์นี้หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถฝากข้อความตรงมุมขวาล่างนี้ หรือติดต่อ บริษัท แอเรียล คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ได้เลยค่ะ

ในเมื่อเราป้องกันได้ ก็ป้องกันเถอะค่ะ เพื่อตัวเรา พนักงานของเรา และผู้คนที่เข้ามาใช้บริการในองค์กรของเรา

แหล่งข้อมูล

1. https://news.sina.cn/zt_d/yiqing0121?cre=tianyi&mod=wnews&loc=3&r=-1&rfunc=78&tj=cxvertical_wap_wnews&tr=73&vt=4&pos=3

2. https://techsauce.co/tech-and-biz/leadership-pm-lee-hsien-loong-singapore-coronavirus