
วัคซีนโควิด เป็นที่จับตามองจากทั่วโลก เพราะเร็วๆนี้จะต้องนำมาฉีดให้กับประชาชนของแต่ละประเทศ เรื่องความปลอดภัยของวัคซีนที่นำมาใช้ในสภาวะปกติ ที่ไม่ใช่ภาวะฉุกเฉินแบบนี้นั้น การคิดค้นวัคซีนใหม่จะเป็นไปตามขั้นตอนคือ ในสัตว์ทดลอง ศึกษาความปลอดภัย กระตุ้นภูมิต้านทานได้ จะขออนุญาตทดลองในมนุษย์ ซึ่งมี 3 ระยะ
ระยะที่ 1 ศึกษาความปลอดภัย
ระยะที่ 2 กระตุ้นภูมิต้านทานได้จริงหรือไม่
ระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีน โดยจะแบ่งกลุ่มให้วัคซีนจริงและและวัคซีนหลอก แล้วติดตามไปอีกเป็นปี เพื่อดูประสิทธิภาพ
แต่ในภาวะโรคระบาด ในตอนนี้ไม่สามารถรอจนสิ้นสุดการวิจัยระยะยาวเป็นปีได้ จึงติดตามอาการเพียง2-3 เดือน และต้องนำมาใช้ก่อนเพื่อแก้วิกฤติโรคระบาดโควิด โดยจะฉีดให้แก่กลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรงและเสียชีวิต คนละ 2 โดส จำนวน 28 ล้านโดส ได้แก่
- ผู้สูงอายุ มีประมาณ 10 ล้านคน
- คนที่มีโรคประจำตัว และบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า รวมแล้วประมาณ 13-14 ล้านคน
วัคซีน ที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน และมีผลข้างเคียงแตกต่างกัน โดยแบ่งเป็น 3 แบบ คือ
แบบที่ 1 mRNA ซึ่งใช้กันมากทางประเทศตะวันตก โดยเป็นการใช้รหัสพันธุกรรมไวรัสเป็นตัวนำ แล้วฉีดเข้าร่างกาย ผู้ผลิตวัคซีนกลุ่มนี้ คือ ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา ซึ่งถือว่า เป็นวัคซีนใหม่ ใช้เทคโนโลยีระดับสูง และยังไม่เคยมีการใช้ในมนุษย์มาก่อน
แบบที่ 2 เป็น Viral vector vaccine เป็นประเภทที่ประเทศไทยจะนำเข้ามา คือ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด ส่วนวัคซีน Sputnik V ของรัสเซียและบริษัทในจีนนั้นไทยไม่ได้ติดต่อ วัคซีน ชนิดนี้ จะคล้ายกับ mRNA ต่างกันที่เคยมีการใช้ในมนุษย์มาก่อน เช่น วัคซีนป้องกันโรคอีโบล่า และยังมีของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ที่อยู่ระหว่างการวิจัยทดลองในระยะที่ 3 ซึ่งยังไม่ได้รับอนุญาตการใช้จากทางการ
แบบที่ 3 เป็นวัคซีนจากเชื้อตายที่มีการนำมาใช้กว่า 70 ปีแล้ว ยกตัวอย่าง วัคซีน โปลิโอ, พิษสุนัขบ้า, ตับอักเสบ A แต่ต้องให้วัคซีนหลายครั้ง เป็นวัคซีนรุ่นเก๋า แต่การศึกษาอาการข้างเคียงง่ายกว่าชนิดใหม่ และหากจะผลิตต้องสร้างห้องเพาะเชื้อก่อนทำให้ตาย ซึ่งจะต้องเป็นห้องชีวนิรภัยระดับสูง จึงไม่สามารถลดต้นทุนให้ถูกได้
สำหรับประเทศไทย เลือกสายกลาง ของบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า จำกัด ที่ไม่ต้องใช้เชื้อก่อโรค และมีราคาถูก รวมทั้งมีข้อมูลเรื่องการฉีดในมนุษย์มาแล้ว จึงมั่นใจเรื่องความปลอดภัยได้ระดับหนึ่ง และถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในขณะนี้
จากการศึกษาเปรียบเทียบวัคซีนโควิด 19 ที่มีผลการทดสอบประสิทธิภาพในมนุษย์ระยะที่ 3 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการขึ้นทะเบียนพบว่า
วัคซีนของไฟเซอร์ มีประสิทธิผล 95% โดยฉีด 2 โดส ห่างกัน 21 วัน
วัคซีนของโมเดอร์นา มีประสิทธิผล 94.5% ฉีด 2 โดส ห่างกัน 28 วัน
วัคซีนของแอสตราเซนเนกา มีประสิทธิผล 62-90% ขึ้นกับปริมาณการฉีด โดยฉีด 2 โดสห่างกัน 28 วัน
วัคซีนของรัสเซีย มีประสิทธิผล 92% ฉีด 2 โดส ห่างกัน 14-21 วัน
วัคซีนของซิโนฟาร์ม ประเทศจีน มีประสิทธิผล 79% ฉีด 2 โดส ห่างกัน 21 วัน
วัคซีนของซิโนแวค ประเทศจีน มีประสิทธิผล 78%
วัคซีน 5 ตัวแรกได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศต้นทางแล้ว ทั้งนี้วัคซีนเป็นเพียงมาตรการเสริม จากมาตรการที่เราทำดีอยู่แล้ว คือ การสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง จึงขอทุกคนช่วยกันมีระเบียบวินัยในการป้องกันโรคต่อไป จะช่วยให้ผ่านวิกฤติไปด้วยกันได้.
อ้างอิง ; https://www.bbc.com/thai/thailand-55623129
https://www.sanook.com/news/8341642/
ขอบคุณรูปภาพจาก Work point today