ทำไมต้องติดเซนเซอร์ที่รถโม่ผสมปูน

      เมื่อพูดถึงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านงานคอนกรีตแล้ว  จะทำให้นึกถึงการบริการขนส่งคอนกรีตแบบผสมเสร็จ  แบรนด์ที่คุ้นหูตั้งแต่รุ่นแม่ เช่น  CPAC  โดยรถโม่ปูน ที่เห็นทั่วๆไปมีอยู่ 2 ขนาดด้วยกัน ได้แก่ รถ6ล้อ และ รถ10ล้อ 

  • รถโม่ขนาดเล็ก บรรจุคอนกรีตได้ประมาณ 2 คิว/เที่ยว
  • รถโม่ขนาดใหญ่ บรรจุคอนกรีตได้ประมาณ 5คิว/เที่ยว

ทั้งนี้รถโม่ขนาดใหญ่ จะมีค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ถูกกว่ารถโม่ขนาดเล็ก เพียงเล็กน้อย  แต่หากพื้นที่ทางเข้าหน้างานแคบต้องเลือกเป็นรถโม่ปูนขนาดเล็ก เพื่อสะดวกในการขนส่ง

เมื่อมีการแข่งขันสูง ในหลายๆบริษัท ก็ต้องหาแนวทางในการชี้วัดคุณภาพของสินค้าตนเอง   เพราะเมื่อคอนกรีตถูกผสมเสร็จใส่ในโม่ปูนแล้ว ก็มีอายุการใช้งาน  หากในส่วนโม่ไม่หมุน อาจทำให้ปูนแข็งตัว แล้วเกิดความเสียหาย ทั้งในมุมของเจ้าของก็เสียต้นทุนและเสียชื่อเสียง ในมุมลูกค้าก็เสียเวลา ต้องให้รถวิ่งไปเปลี่ยนปูนผสมมาใหม่  

จากเหตุการณ์เหล่านี้  ทำให้ผู้ประกอบการต้องการทราบการทำงานของรถโม่ปูน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น นำPROXIMITY  SENSOR 2 ตัว ใช้จับจำนวนรอบการหมุน ทิศทาง และความเร็ว ของโม่ปูนที่ตัวถัง ระบบเซนเซอร์นี้ ต้องใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ที่มีชื่อเรียกว่า BTT INPUT 14 CHANNELS  และกล่อง GPS  TRACKING  ซึ่งกล่อง BTT INPUT 14 CHANNELS  เป็นกล่องขยาย IO ต่างๆที่ต้องการตรวจเช็ค เช่น ไฟเลี้ยวซ้าย-ขวา ไฟสูง ไฟต่ำ ที่ปัดน้ำฝน การเปิด-ปิดประตู  ฯลฯ ของโม่ปูน  นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งกล้อง Snapshot Camera เพื่อดูข้อมูลแบบออนไลน์และดูข้อมูลย้อนหลังได้ ยกตัวอย่าง กรณีคนขับแจ้งว่า หน้างานแคบไม่สามารถเข้าไปส่งงานได้  ,การจราจรติดขัดทำให้ไปส่งล่าช้า

เหตุนี้เอง ทำให้รถโม่ปูนที่ติดตั้งระบบเซนเซอร์ ระบบกล้อง สามารถชี้วัดคุณภาพของสินค้าและการบริการที่ดีกว่ารถโม่ปูนแบบที่ไม่ติดระบบเซนเซอร์นี้