การบริหารจัดการเครื่องจักร(Machine)

การบริหารจัดการเครื่องจักรกล (Machine) แต่เดิมนั้นใช้ การจับชั่วโมงทำงานของเครื่องยนต์ มาบริหารจัดการบำรุงรักษา(Maintenance) โดยมีสมุติฐานว่า เมื่อติดเครื่องยนต์ จะถือว่ามีการทำงาน และนำมาบริหารจัดการ เรื่อง การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง การเปลี่ยน spare part ที่เสื่อมสภาพ เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร ลดค่าใช้จ่ายในการ ซ่อมที่เกิดจากความเสียหายรุนแรง

 การจดบันทึกชั่วโมงทำงาน แม้จะสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดความเสียหายได้ แต่ยังมีเรื่องอื่นๆที่ยังคงต้องการการบริหารจัดการ เพื่อเพิ่ม utilization และ จัดการเพื่อลดค่าใช้จ่ายสิ้นเปลืองที่ไม่จำเป็น ยกตัวอย่างเช่น การติดเครื่องเดินเบาไว้เพื่อเปิดแอร์ แต่ไม่ได้ทำงาน การที่มีเครื่องจักรอยู่จำนวนมาก และไม่รู้ในทันทีว่าเครื่องไหนทำงานอะไรที่ไหนบ้าง อาจจะทำให้เกิดการจอด ไม่ได้ใช้งาน การเช่าเครื่องจักร มากเกินความจำเป็น การติดเครื่องไว้แต่ไม่ได้ทำงาน สิ่งเหล่านี้ สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น

ระบบ GPS ที่ถูกนำมาใช้ในภาคขนส่งอย่างแพร่หลาย สามารถลดการสูญเสีย โดยไม่จำเป็นจาก กิจกรรมทางภาคขนส่ง และการตรวจจับการทุจริตต่างๆ การนำGPS มาช่วยในเรื่องการติดตามตำแหน่งการเคลื่อนที่ของเครื่องจักรกล ภายในไซต์งานก่อสร้าง โดยการนำ Geo-fence มาใช้ตรวจจับพื้นที่ ที่เครื่องจักรกำลังทำงาน หากเครื่องจักรเคลื่อนที่ไปยังจุดที่สนใจ จะมีการแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแล ทำให้ทราบตำแหน่งของเครื่องจักรได้แบบReal-time

นอกจากนี้ยัง ตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำมันของเครื่องจักรกลได้อย่างแม่นยำ คำนวนปริมาณการสูญเสียน้ำมัน เพื่อลดการทุจริตขโมยน้ำมันที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง การจับรอบการทำงานของเครื่องยนต์ หรือการติดตามการทำงานของ sensor ต่างๆในเครื่องจักรนั้น สามารถนำมาช่วยในการบริการจัดการ และการวางแผนการใช้งาน ได้มีประสิทธิภาพ ช่วยลดค่าใช้จ่าย สร้างผลกำไรให้กับผู้ประกอบการได้มากขึ้น ประเภทรถที่ใช้ในไซต์งานก่อสร้าง เช่น รถปูคอนกรีต รถปูแบริเออร์ รถขุด รถปูยางมะตอย รถบด รถเกรด รถเครน เป็นต้น

อ้างอิง : https://www.wikiwand.com/en/Tachograp